ไพล
• ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber montanum
• พบในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ
• เป็นยาแผนโบราณในการรักษาการอักเสบ ข้อบวม ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ แก้ฟกบวม เคล็ดขัดยอก แก้ผื่นคัน ไอ หวัด การย่อย ก้อนมะเร็ง ท้องเสีย รักษาแผล และโรคหอบหืด
ไพลเป็นยาในบัญชียาจากสมุนไพร
• บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ
• ตำรับ “ยาแก้ลมอัมพฤกษ์” มีส่วนประกอบของไพลร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดตามเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ มือ เท้า ตึงหรือชา
• ตำรับ “ยาผสมเถาวัลย์เปรียง” มีส่วนประกอบของไพลร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
องค์ประกอบทางเคมีของไพล
• น้ำมันระเหยง่าย
• สารสีเหลือง curcumin, cassumunarins A, B, C
• สารกลุ่มฟีนิลบิวทานอยด์
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
• ฤทธิ์ต้านการอักเสบที่สูง
• ต้านอนุมูลอิสระ
• ต้านจุลินทรีย์
• ต้านเชื้อรา
• ต้านการแพ้
• ปกป้องเซลล์
ฤทธิ์ต้านการอักเสบ
• การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบและบรรเทาปวด พบว่าเป็นผลจากสารออกฤทธิ์จากไพลหลายชนิดมีประสิทธิภาพในการต้านการอักเสบ
• สาร (E)1-(3 ,4- dimethoxyphenyl) but-3-en-1-0l มีฤทธิ์ต้านการอักเสบเป็น 2 เท่าของยามาตรฐาน diclofenac ซึ่งเป็นยาแผนปัจจุบันที่ใช้บรรเทาอาการอักเสบ
• สาร (E)-1-(3,4-dimethoxyphenyl) butadiene (DMPBD) ออกฤทธิ์ได้ดีกว่ายา diclofenac ประมาณ 11 เท่า
• สารอัลฟาพินีน (α- pinene) และเทอร์ปินีน (terpinene –4-ol) มีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้นานกว่ายามาตรฐานอินโดเมธาซิน โดยออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ cyclooxygenase และ lipoxygenase
อ้างอิง : ชลิต พงศ์ศุภสมิทธิ์, เบญจวรรณ สมบูรณ์, สุภักตร์ ปัญญา, นงลักษ์ ชูพันธ์. ผลผลิตระหว่างหัวพันธ์ที่แตกต่างกันของไพล. รายงานผลการวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2554.
Jeenaponga R, Yoovathaworn K,Sriwatanakul KM, Pongprayoon U,Sriwatanakul K. Anti-inflammatory activity of (E)-1-(3, 4-dimethoxyphenyl) butadiene from Zingiber cassumunarRoxb. J Ethnopharmacology. 2003;87: 143-148.
การศึกษาทางคลินิก
• การศึกษาฤทธิ์ลดอาการปวดกล้ามเนื้อของไพลในรูปแบบครีมในอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 75 คน ที่ทำการออกกำลังกายโดยการการยืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า
• ผลการศึกษาพบว่าไพลในรูปแบบครีมที่มีความเข้มข้นร้อยละ 14 สามารถลดการปวดกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกาย และลดอาการข้อเท้าเคล็ดได้
อ้างอิง : Chongmelaxme B, Sruamsiri R, Dilokthornsakul P, Dhippayom T, Kongkaew C, Saokaew S, et al. Clinical effects of Zingiber cassumunar (Plai): A systematic review. Complementary Therapies in Medicine. 2017;35:70-77.
การศึกษาทางคลินิก
• การทดลองประสิทธิภาพของครีมไพลในนักกีฬาที่บาดเจ็บข้อเท้าแพลง 21 ราย
• ครีมไพลลดการบวมของข้อเท้า ช่วยลดอาการปวด และช่วยให้การเคลื่อนไหวของข้อเท้าดีขึ้น
อ้างอิง : คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา. 2549. บัญชียาจากสมุนไพร พ.ศ. 2549. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย:กรุงเทพมหานคร.