เถาเอ็นอ่อน
• ชื่อวิทยาศาสตร์ Cryptolepis dubia
• เถาเอ็นอ่อนเป็นพืชสมุนไพรจำพวกไม้เถาเลื้อย
• มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สรรคุณของเถาเอ็นอ่อนในการแพทย์แผนไทย
• การแพทย์แผนไทยใช้ส่วนลำต้นของเถาเอ็นอ่อนมาต้มดื่ม ส่วนใบนำมาห่อเป็นลูกปะคบ สำหรับเป็นยาบำรุงเส้นเอ็น แก้ขัดยอก แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ช่วยคลายเส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ
• ในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2558 เถาเอ็นอ่อนเป็นส่วนประกอบหลักในตำรับยาผสมโคคลานซึ่งใช้สำหรับรักษาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและกระดูกตามร่างกาย
อ้างอิง : Bureau of drug control: Food and drug administration Thailand. National list of essential medicines [online]. 2015 Sep 17 [ cited 2016 May 20] . Available from: http://www.drug.fda.moph.go.th: 81/nlem.in.th
สารประกอบทางเคมี
• สารประกอบทางเคมีของเถาเอ็นอ่อนมี 2 กลุ่ม ได้แก่ สารกลุ่มอัลคาลอยด์ (alkaloids) และ เถาเอ็นอ่อนพบ
• สารออกฤทธิ์หลักคือ บูคานาไนน์ (buchananine) ซึ่งเป็นสารกลุ่มอัลคาลอยด์ (alkaloids)
อ้างอิง : Dutta SK, Sharma BN, Sharma PV. Buchananine, a novel pyridine alkaloid from Cryptolepis buchanani. Phytochemistry 1978; 17: 2047-2048.
Purushothaman KK, Vasanth S, Comnolly JD, Rycroft DS. New sarverogenin and isosarverogenin in glycoside from Cryptolepis buchanani (Asclepiadaceae). J Mex Chem 1988; 19: 28-31.
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของเถาเอ็นอ่อน
• ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของเถาเอ็นอ่อนที่สำคัญคือ
– ระงับปวด
– ต้านการอักเสบ
– ปกป้องกระดูกอ่อน
ฤทธิ์ระงับปวด
• การศึกษาผลของสารสกัดเถาเอ็นอ่อนต่อการระงับปวดที่สัมพันธ์กับการอักเสบในหนูถีบจักร
• ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดเถาเอ็นอ่อนมีฤทธิ์ระงับปวด โดยสามารถลดอาการเจ็บปวดภายในช่องท้องซึ่งแสดงออกโดยการเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้องในหนูถีบจักรได้
อ้างอิง : Hanprasertpong N, Teekachunhatean S, Chaiwongsa R, et al. Analgesic, anti-inflammatory, and chondro protective activities of Cryptolepis buchanani extract: in vitro and in vivo studies. Biomed Res Int 2014; 2014: 1-8.
ฤทธิ์ต้านการอักเสบ
• การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบในหลอดทดลอง พบว่าสารสกัดเถาเอ็นอ่อนสามารถยับยั้งการผลิตไอโคซานอยด์ (eicosanoid) ซึ่งเป็นสารชักนำการอักเสบ ผ่านการยับยั้งเอนไซม์ ไซโคลออกซิจิเนส (cyclooxygenase) และ 5-ลิโพออกซิจิเนส (5-lipooxygenase)
• การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบใน เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวเพาะเลี้ยง พบว่าสารสกัดเถาเอ็นอ่อนสามารถยับยั้ง การแสดงออกของยีน TNF-α ซึ่งเป็นยีนสื่อกลางการอักเสบ
• การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูขาว พบว่าสารสกัดเถาเอ็นอ่อนสามารถลดการบวมที่ใบหูทั้งสองข้างของหนูขาวได้ และสามารถลดการบวมที่ใบหูของหนูขาวได้ใกล้เคียงกับอินโดเมธาซิน (ยา)
อ้างอิง : Hanprasertpong N, Teekachunhatean S, Chaiwongsa R, et al. Analgesic, anti-inflammatory, and chondro protective activities of Cryptolepis buchanani extract: in vitro and in vivo studies. Biomed Res Int 2014; 2014: 1-8.
Laupattarakasem P, Wangsrimongkol T, Surarit R, Hahnvajanawong C. In vitro and in vivo antiinflammatory potential of Cryptolepis buchanani. J Ethnopharmacol 2006; 108: 349-354.
ฤทธิ์ปกป้องกระดูกอ่อน
• มีการศึกษาผลของสารสกัดเถาเอ็นอ่อนต่อการปกป้องกระดูกอ่อนในหลอดทดลองโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกระดูกอ่อน
• ผลการศึกษาพบว่า
– สารสกัดเถาเอ็นอ่อนสามารถลดการเสื่อมสลายของกระดูกอ่อน
– สารสกัดเถาเอ็นอ่อนสามารถลดการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนของโรคข้อเสื่อม
– สารสกัดเถาเอ็นอ่อนสามารถป้องกันการสลายเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนได้และมีฤทธิ์ใกล้เคียงกับไดอะซีรีนซึ่งเป็นยารักษาโรคข้อเสื่อม
อ้างอิง : Hanprasertpong N, Teekachunhatean S, Chaiwongsa R, et al. Analgesic, anti-inflammatory, and chondro protective activities of Cryptolepis buchanani extract: in vitro and in vivo studies. Biomed Res Int 2014; 2014: 1-8.